เมนู

วุตฺตํ เหตํ แล้วสังคายนา (พระธรรมวินัย). พุทธวจนะนี้มีองค์ 9 โดยแยก
เป็น สุตตะ เคยยะ เป็นต้นของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ก็เป็นเหมือน
พุทธวจนะมีองค์ 9 นั่น. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า ก็พุทธวจนะมีองค์
9 คือ สุตตะ เคยยะ ฯลฯ ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นมีน้อย เป็นต้น. ในบรรดา
องค์เหล่านั้น องค์ คือ อิติวุตตกะไม่ปรากฏนิทานอะไร ๆ อย่างอื่นเลย
ยกเว้นคำนี้ว่า วุตฺตํ เหตํ ฯเปฯ เม สุตํ ซึ่งเป็นเครื่องหมายของอิติวุตตกะ
นั้น . ด้วยเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า สูตร 112 สูตร
ที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า วุตฺตํ เหตํ ภควตา จัดเป็นอิติวุตตกะ เพราะ
เหตุนั้น พึงทราบว่า พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย หรือแม้พระอริยสาวิกา
ผู้รู้พระประสงค์ของพระศาสดา จึงได้ตั้งนิทานไว้โดยนัยนี้แล เพื่อให้ทราบว่า
สูตรเหล่านี้จักเป็นองค์ คือ อิติวุตตกะ.

กล่าวคำนิทานไว้ทำไม ?


ถามว่า ก็พระอานนท์เมื่อจะทำการรวบรวมพระธรรมวินัย ได้กล่าว
คำนิทานไว้เพื่ออะไร ? ท่านควรทำการรวบรวมพระดำรัสที่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าตรัส
ไว้มิใช่หรือ ? ข้าพเจ้าจะเฉลย พระอานนท์กล่าวคำนิทานไว้
เพื่อยังความดำรงมั่น ความไม่เลอะเลือน และความเป็นของควรเธอแห่งเทศนา
ให้ถึงพร้อม. เป็นความจริง เทศนาที่ผูกพันอยู่กับข้ออ้าง คือ กาละ (เวลา)
เทสะ (สถานที่) ผู้แสดง และบริษัท ย่อมเป็นเทศนาดำรงอยู่ได้มั่นคง
ไม่เลอะเลือน และเป็นเทศนาควรเธอ. การวินิจฉัยโวหารเป็นเหมือนผูกพัน
อยู่กับเครื่องหมาย คือ เทสะ กาละ กัตตา (ผู้ทำ) และโสตา (ผู้ฟัง)
ก็ท่านพระอานนท์ผู้เป็นขุนคลังแห่งพระธรรมนั้นแล เมื่อพระมหากัสสปะ
ทำการปุจฉาถึงเทสะ (สถานที่ตรัส) เป็นอาทิแห่งพรหมชาลสูตรละมูลปริยาย-

สูตรเป็นต้น จะทำการวิสัชนาปุจฉาเหล่านั้นจึงกล่าวคำนิทานไว้โดยนัยเป็น-
ต้นว่า เอวมฺเม สุตํ แต่ในที่นี้ท่านกล่าวเหตุไว้แล้วแลในเพราะระบุถึงกาละ
และเทสะ.
อีกประการหนึ่ง คำนิทานท่านกล่าวไว้เพื่อประกาศสมบัติของพระ-
ศาสดา. จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระตถาคต ทรงสำเร็จ
ความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ เพราะไม่มีการรจนาไว้ก่อน ไม่มีการ
อนุมาน และไม่มีตรรกในปริยัติ. ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีความต้ออง
การด้วยการรจนาไว้ก่อนเป็นต้น เพราะทรงมีพระญาณสอดส่องไปไม่ถูก
ขัดขวางในธรรมทั้งปวง และเพราะทรงมีประมาณเป็นหนึ่ง ในไญยธรรม
ทั้งหลาย. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสำเร็จเป็นพระขีณาสพได้ เพราะ
ไม่มีกำมือของอาจารย์ คือ ความตระหนี่ธรรม และความยินดีแม้แต่น้อยใน
ผู้ฟังคำสอน (ของพระองค์) เพราะว่า ธรรมเหล่านั้นหาเกิดขึ้นแก่พระขีณาสพ
โดยตลอดไม่ เพราะฉะนั้น พฤติกรรมที่อนุเคราะห์ผู้อื่น จึงเกิดแก่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ผู้ทรงบริสุทธิ์อย่างยิ่ง. ความสำเร็จเวสารัชชญาณ 2 ข้อข้างต้น
ของพระผู้มีพระภาคเจ้า (สัมมาสัมพุทธปฏิญญา 1 ขีณาสวปฏิญญา 1)
มีได้ด้วยสัมพุทธภาวะ (ตรัสรู้เองโดยชอบ) และวิสุทธภาวะ (ทรงหมดจด)
ที่บ่งถึงความไม่มีโดยสิ้นเชิงแห่งอวิชชาและตัณหา อันเป็นตัวประทุษร้ายทิฏฐิ-
สัมปทา และสีลสัมปทาเป็นสังกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง) ของผู้แสดง และ
ที่ทำญาณสัมปทา และปหานสัมปทาให้ปรากฏ และความสำเร็จเวสารัชชญาณ
2 ข้อหลัง (อันตรายิกธรรมวาทะ 1 นิยยานิกธรรมเทศนา 1) มีได้ เพราะทรง
สำเร็จความไม่งมงายในอันตรายยิกธรรม และนิยยานิกธรรมนั้น. เพราะเหตุนั้น

ด้วยคำนิทาน เป็นอันพระอานนทเถระประกาศ การที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงประกอบด้วย เวสารัชชญาณ 4 อย่าง อันเป็นที่อาศัยบำเพ็ญประโยชน์
เพื่อพระองค์ และประโยชน์เพื่อผู้อื่น เพราะทรงแสดงพระธรรมเทศนา
ด้วยพระปฏิภาณที่เกิดขึ้นตามฐานะที่ควร เหมาะสมกับอัธยาศัยของบริษัท
ผู้ประสบ (พระองค์) แล้วในที่นั้น ๆ. แต่ในที่นี้ ควรประกอบคำพูดว่า การ
ละโทษของกาม โดยไม่มีส่วนเหลือ และโดยการแสดงถึงพระธรรมเทศนา
ตามวิธี ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้กล่าวไว้ว่า ท่าน(พระอานนท์)กล่าวนิทานพจน์
ไว้ เพื่อประกาศพระคุณสมบัติของพระศาสดา.
อนึ่ง ในเรื่องนี้ ท่านแสดงถึงการประกาศเนื้อความให้แจ่มแจ้ง ตาม
ที่ได้กล่าวมาแล้ว ในหนหลังนั่นเอง ด้วยบทเหล่านั้นว่า ภควตา อรหตา.
อนึ่ง พระอานนทเถระ กล่าวคำนิคมไว้ เพื่อประกาศคุณสมบัติของพระ-
ศาสนา (คำสอนของพระองค์) เพราะว่า ข้อปฏิบัติของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ผู้ทรงมีพระกิริยาทุกอย่างอันพระญาณและพระกรุณาประคองไว้ ที่ไร้ประโยชน์
หรือเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พระองค์ เท่านั้น คือการเห็นแก่ตัวจะไม่มี เพราะ
ฉะนั้น กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม แม้ทั้งหมดของพระสัมมาสัม-
พุทธเจ้า ผู้ทรงมีพระกิริยาทุกอย่างที่เป็นไปแล้ว เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นทีเดียว
ที่กำลังกล่าวถึงตามที่เป็นไปแล้ว ชื่อว่า เป็นคำสอน (เหมือนกัน ) เพราะอรรถ
ว่าเป็นเหตุสอนสัตว์ทั้งหลายได้เนือง ๆ ตามความเหมาะสมกับประโยชน์ชาตินี้
ประโยชน์ชาติหน้า และประโยชน์อย่างยิ่ง ไม่ใช่เพราะรจนาไว้ทั้งหมด.
ท่านประกาศพระจริตของพระศาสดานี้นั้นไว้ตามสมควร ด้วยนิทานพจน์
ทั้งหลาย ที่อ้างถึงกาละเทสะผู้แสดงและบริษัท. แต่ในที่นี้ ควรประกอบ
ถ้อยคำว่า ที่อ้างถึงผู้แสดงและบริษัทเข้าไว้ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า
(สาสนสมฺปตฺติปฺปกาสนตฺถํ นิทานวจนํ ท่านกล่าวนิทานพจน์ไว้ เพื่อ

ประกาศคุณสมบัติของพระศาสนา).
อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวนิทานพจน์ไว้เพื่อแสดงว่า คำสอนเอาเป็น
ประมาณได้ เพราะประกาศว่า พระศาสดาเอาเป็นประมาณได้. ก็การแสดงว่า
คำสอนนั้น เอาเป็นประมาณได้นั้น พึงทราบว่าได้ประกาศไว้แล้ว ด้วยบทเหล่า
นี้ว่า ภควตา อรหตา ตามแนวแห่งนัยที่ได้กล่าวไว้แล้ว ในหนหลัง. ใน
ที่นี้ คำนี้แสดงเพียงช่องทางของประโยชน์แห่งคำนิทานเท่านั้น ดังนี้แล.
จบนิทานวรรณนา

เอกนิบาตวรรณนา


บัดนี้ ถึงโอกาสแห่งการพรรณนาพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ยกขึ้นโดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงละธรรม
อย่างหนึ่ง
ดังนี้. ก็การพรรณนาความนี้นั้น เพราะเป็นการปรากฏทีท่าน
กล่าววิจารณ์ ถึงบทตั้งของพระสูตรไว้ ฉะนั้น เราจักวิจารบทตั้งของพระสูตร
ก่อน.
จริงอยู่ บทตั้ง (ของพระสูตร) มี 4 อย่าง คือ อัตตัชฌาสยะ 1
ปรัชฌาสยะ 1 ปุจฉาวสิกะ 1 อัตถุปปัตติกะ 1.
อันที่จริง พระสูตร
ทั้งหลาย แม้มีประเภทตั้งแสนมิใช่น้อย ก็ไม่เกิน 16 อย่างไปได้โดยปัฏฐานนัย
(การเริ่มต้น) มีสังกิเลสภาคิยะ (เป็นไปในส่วนแห่งความเศร้าหมอง) เป็นต้น
ฉันใด พระสูตรทั้งหลายย่อมไม่เกิน 4 อย่างไปได้ โดยบทตั้งของพหูสูตร
มีอัตตัชฌาสยะเป็นต้น ฉันนั้น ด้วยประการฉะนี้. ใน 4 อย่างนั้น อัตตัชฌาสยะ
และอัตถุปปัตติ ย่อมมีความเกี่ยวข้องกับปรัชฌาสยะและปุจฉา เพราะมีความ
สืบเนื่องกันแห่งอัตตัชฌาสยะ และปุจฉา คือ อัตตัชฌาสยะ และปรัชฌาสยะ
อัตตัชฌาสยะ และปุจฉาวสิกะ อัตถุปปัตติกะ และปรัชฌาสยะ อัตถุปปัตติกะ